วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

>>>โครงการปลูกป่ารักษาน้ำตามพระราชดำริฯ (กระบี่เมืองสะอาด)

มื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 นายอำเภอปลายพระยา ร่วมกับนายก อบต.ปลายพระยา นายก อบต.เขาเขน พัฒนาการอำเภอปลายพระยา และส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น อาสาสมัคร รวมถึงประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 4,6 ตำบลเขาเขน และ หมู่ที่ 10 ตำบลปลายพระยา ร่วมประกอบพิธีทางศาสนา ปลูกต้นไม้ หญ้าแฝก บริเวณริมอ่างเก็บน้ำพรุเจ หมู่ท่ 10 บ้านทะเลหอย ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ตามกิจกรรม Big Cleaning Day โครงการกระบี่เมืองสะอาด

>>> กิจกรรมรณรงค์การทำความสะอาด Big Cleaning Day











เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 นายชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม Big Cleaning Day จุดตัวอย่างของอำเภอปลายพระยา มีกิจกรรมการมอบเกียรติบัตรขยะรีไซเคิลแก่โรงเรียน มอบป้ายศูนย์ ศสมช. การเต้นแอร์โรบิคของผู้สูงอายุ การแสดงบนเวที การจัดนิทรรศการด้านต่างๆ การกำจัดผักตบชวา การปลูกต้นไม้ ณ บริเวณสวนสาธารณเฉลิมพระเกีรยติฯ บ้านหน้าสวน หมู่ท่ 9 ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา โดยมีนายสุริยน จรุงเกียรติกุล นายอำเภอปลายพระยา ให้การต้อนรับ

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

>>> ข้อมูลทั่วไปของอำเภอปลายพระยา


อำเภอปลายพระยาเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 8 อำเภอ ของจังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉีงเหนือของจังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภออ่าวลึก อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ อำเภอพระแสง และอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงและที่ราบเนินเขา มีภูเขาน้อยใหญ่ สลับซับซ้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืช เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สวนผลไม้และพืชอื่นๆ ลักษณะอากาศร้อนชื้นมีฝนตกชุกเกือบตลอดปี จึงเหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมันที่กำลังจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคต ในการนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซลต่อไป ในด้านสังคมประชากรส่วนใหญ่มีอุปนิสัยรักสงบ และมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ไม่มี ในด้านการคมนาคม ขนส่ง ของอำเภอปลายพระยาสามารถติดต่อไปมาระหว่างเมืองสำคัญได้สะดวก แต่มีจุดอ่อน คือ เป็นสังคมที่ยังขาดความกระตือรือร้น และขาดความเชี่ยวชาญ ในลักษณะของปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการประกอบอาชีพ และการบริหารจัดการลงทุนการพัฒนา จึงต้องเน้นการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยี่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านต่างๆ

1.1 ความเป็นมา
อำเภอปลายพระยา เดิมสมัยก่อนเป็นตำบลปลายพระยา และตำบลเขาเขน ขึ้นอยู่ในเขตปกครองของอำเภอไทรขึง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตำบล 2 ตำบลนี้ ในสมัยนั้นเรียกว่า บ้านปากน้ำ และบ้านเขาเขน ขึ้นอยู่กับตำบลอีปัน อำเภอไทรขึง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาเมื่อในสมัยที่ขุนพลพระยาภิบาลเป็นกำนันตำบลอีปัน ทางราชการได้แยกบ้านปากน้ำ กับบ้านเขาเขน ตั้งเป็นตำบลปลายพระยา และตำบลเขาเขน แล้วได้ย้ายอำเภอไทรขึงไปตั้งเป็นอำเภอพระแสงปัจจุบัน ตำบล 2 ตำบลนี้ ในสมัยนั้นการคมนาคมไม่สะดวกราษฎร ไปติดต่อค้าขายและไปติดต่อกับทางราชการ จะต้องเดินทางไปโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ หรือเดินเท้า อีกทางหนึ่งนั่งเรือแจว เรือพาย และล่องแพไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเดินทางไปมาในสมัยนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบากอย่างสาหัส ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน และเสี่ยงต่อภัยอันตรายรอบด้าน
ในสมัยต่อมา ทางราชการจึงได้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด และได้โอนตำบลปลายพระยา ตำบลเขาเขน ให้ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2516 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแบ่งท้องที่อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปลายพระยา มีเขตปกครอง 3 ตำบล คือ ตำบลปลายพระยา ตำบลเขาเขน และตำบลเขาต่อ
เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2520 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะให้เป็นอำเภอปลายพระยา
วันที่ 2 กันยายน 2526 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแบ่งท้องที่ตำบลเขาเขน บางส่วน เป็นตำบลคีรีวง
ปัจจุบันอำเภอปลายพระยา ประกอบด้วย ตำบลปลายพระยา ตำบลเขาเขน ตำบลเขาต่อ และตำบลคีรีวง รวม 4 ตำบล มีหมู่บ้านจำนวน 35 หมู่บ้าน

1.2 ที่ตั้ง
อำเภอปลายพระยา เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 8 อำเภอ ของจังหวัดกระบี่ ซึ่งห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 65 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของจังหวัดกระบี่
1.3 เนื้อที่
อำเภอปลายพระยา มีเนื้อที่ประมาณ 473.87 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 296,168.75 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อ ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพนม อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเขาพนม อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
1.4 สภาพภูมิประเทศ และลักษณะภูมิอากาศ
1.4.1 สภาพภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของอำเภอปลายพระยา เป็นที่ราบสูง และที่ราบเนินเขา มีภูเขาน้อยใหญ่ สลับซับซ้อน อยู่เป็นจำนวนมาก
แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่
1. คลองอิปัน ต้นน้ำเกิดบริเวณเทือกเขาพนมเบญจา ในเขตอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
2. คลองลาว ต้นน้ำเกิดบริเวณเทือกเขาต่อ ในเขตตำบลเขาต่อ ไหลผ่านพื้นที่ตำบลเขาต่อ
3. คลองพันโตน ต้นน้ำเกิดบริเวณภูเขาทอง ในตำบลเขาเขน ไหลไปบรรจบกับคลองอิปัน บริเวณบ้านปากน้ำ ตำบลปลายพระยา
1.4.2 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอปลายพระยา มีฝนตกตลอดปี โดยเฉพาะฝนจะตกชุกในระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม เพราะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ดังนั้น จึงมีเพียง 2 ฤดู คือ
ฤดูฝน เริ่มตกเดือน พฤษภาคม – ธันวาคม
ฤดูร้อน เริ่มตกเดือน มกราคม – เมษายน
อุณหภูมิเฉลี่ย 16.9 – 37.3 องศาเซลเซียส
1.4.3 จำนวนประชากร
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง* ณ วันสำรวจ จำแนกตามช่วงอายุจากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับอำเภอ (จปฐ.2) ปี 2552
ในเขตชนบท 35 หมู่บ้าน
ช่วงอายุประชากร จำนวนเพศชาย จำนวนเพศหญิง จำนวนรวม
(คน) (คน) (คน)
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม 57 70 127
1 ปีเต็ม - 2 ปี 239 196 435
3 ปีเต็ม - 5 ปี 408 341 749
6 ปีเต็ม - 11 ปี 877 755 1,632
12 ปีเต็ม - 14 ปี 466 408 874
15 ปีเต็ม - 17 ปี 442 415 857
18 ปีเต็ม - 25 ปี 1,337 1,221 2,558
26 ปีเต็ม - 49 ปีเต็ม 4,107 3,835 7,942
50 ปีเต็ม - 60 ปีเต็ม 1,051 934 1,985
มากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป 1,016 939 1,955
10,000 9,114 19,114
ในเขตเทศบาลตำบลปลายพระยา
ช่วงอายุประชากร จำนวนเพศชาย จำนวนเพศหญิง จำนวนรวม
(คน) (คน) (คน)
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม 7 3 10
1 ปีเต็ม - 2 ปี 45 33 78
3 ปีเต็ม - 5 ปี 98 90 188
6 ปีเต็ม - 11 ปี 213 191 404
12 ปีเต็ม - 14 ปี 94 96 190
15 ปีเต็ม - 17 ปี 103 98 201
18 ปีเต็ม - 25 ปี 304 272 576
26 ปีเต็ม - 49 ปีเต็ม 975 978 1953
50 ปีเต็ม - 60 ปีเต็ม 242 214 456
มากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป215 204 419
2,296 2,179 4,475
หมายเหตุ
ประชากรตามข้อมูลสำนักทะเบียนอำเภอปลายพระยา ณ เดือนมกราคม 2551 ทั้งหมด 30,732 คน แยกเป็นชาย 15,556 คน หญิง 15,176 คน
1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ
เนื่องจากในพื้นที่อำเภอปลายพระยา มีฝนตกตลอดปี และมีดินอุดมสมบูรณ์มาก เคยเป็นพื้นที่ที่มีพันธุ์ไม้มีค่านานาชนิด เป็นทรัพยากรที่มีค่าของอำเภอ แต่ในปัจจุบันได้มีการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อจับจองเป็นที่ดินทำกินการสัมปทานป่าไม้ เพื่อปลูกสร้างปาล์มน้ำมันของภาคเอกชนในพื้นที่ จึงทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดจำนวนลงเป็นจำนวนมาก
1.6 แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งธรรมชาติที่สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอ ได้แก่

- ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลปลายพระยา เป็นถ้ำที่มีธรรมชาติสวยงาม ที่สุดในเมืองไทย
- น้ำตกบางเท่าแม่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเขาต่อ
- ถ้ำวารีริน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลคีรีวง
- ถ้ำวิมาลย์ศิลาลัย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลคีรีวง
- ถ้ำรอบ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลเขาเขน
- ถ้ำทะเลหอย ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลปลายพระยา
- น้ำตกบางหินงาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลปลายพระยา
- น้ำตกสุขสันต์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลปลายพระยา
1.7 การปกครอง
อำเภอปลายพระยา แบ่งการปกครองท้องที่ ออกเป็น 4 ตำบล มีหมู่บ้านจำนวน 35 หมู่บ้าน และมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ทั้งหมด 148 คน มีหมู่บ้านที่กระทรวงมหาดไทยประกาศ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนา และป้องกันตนเอง (อพป.) จำนวน 14 หมู่บ้าน ดังนี้
ตำบลปลายพระยา มี 13 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้าน อพป. 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 6, 7, 10 ตำบลเขาเขน มี 6 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้าน อพป. 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 ตำบลเขาต่อ มี 7 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้าน อพป. 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 4, 5, 6
ตำบลคีรีวง มี 8 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้าน อพป. 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 3, 6
หน่วยการปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วยเทศบาลตำบล 1 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง ดังนี้
1. เทศบาลตำบลปลายพระยา
2. องค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยา
3. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาเขน
4. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาต่อ
5. องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีวง
2. สภาพทางเศรษฐกิจ

2.1 อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเชิงพาณิชกรรม โดยแบ่งออกเป็น ดังนี้
2.1.1 ด้านเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ในอำเภอปลายพระยา ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร ได้แก่ การทำสวนปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมัน 119,349.75 ไร่
กาแฟ 7,070 ไร่
ทุเรียน 85,705 ไร่
มะพร้าว 1,689 ไร่
ลองกอง 84,587 ไร่
เงาะ 753 ไร่
มังคุด 84,207 ไร่
ข้าว 460 ไร่
ยางพารา 38,360 ไร่
ส้มโอ 215 ไร่
2.1.2 ด้านอุตสาหกรรม ในเขตรับผิดชอบของอำเภอปลายพระยา มีโรงงานอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม จำนวน 2 แห่ง คือ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม บริษัทยูนิวานิช จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลปลายพระยา และโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม นิคมสหกรณ์อ่าวลึก ตำบลคีรีวง
2.1.3 ด้านการพาณิชยกรรม โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตชุมชน การลงทุนส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะร้านเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปทุกตำบล
2.1.4 ด้านปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ในอำเภอปลายพระยา ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงเพื่อรายได้ หรือเป็นอาหารในครอบครัว มิได้หวังจะทำการเลี้ยงเป็นรายได้หลัก หรือเป็นการค้า แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรในพื้นที่ เริ่มมีการตื่นตัวที่จะเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมมากขึ้น
อำเภอปลายพระยา มี 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
ตำบลปลายพระยา อาหารทะเลแปรรูป
ตำบลเขาต่อ เห็ดฟางจากทะลายปาล์ม
ตำบลเขาเขน ผ้าบาติก
ตำบลคีรีวง แชมพูและครีมนวดสมุนไพร ขนมต่างๆ เครื่องแกง
2.2 หน่วยธุรกิจในเขตอำเภอปลายพระยา
- ธนาคาร 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย จำกัด และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำกัด
- โรงแรม - แห่ง บังกะโล - แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน และก๊าซ 5 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง
- โรงสีข้าวในโครงการพระราชดำริ 1 โรง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลปลายพระยา
- สหกรณ์นิคม 3 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด สหกรณ์นิคมปลายพระยา สหกรณ์นิคมอ่าวลึก
- ร้านรับซื้อของเก่า 2 ร้าน
- ลานเทปาล์มน้ำมัน 11 แห่ง
3. สภาพทางสังคม
3.1 การศึกษา
- โรงเรียนอนุบาล 1 แห่ง (เอกชน)
- โรงเรียนประถมศึกษา 22 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- โรงเรียนมัธยม (ขยายโอกาสทางการศึกษา) 3 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 7 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล 4 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 18 แห่ง
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 19 แห่ง
- มัสยิด 1 แห่ง
3.3 สาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 9 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน 6 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 6 แห่ง
3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ 1 แห่ง
- ที่พักสายตรวจ 5 แห่ง
4. การบริการพื้นฐาน
4.1 การคมนาคม ใช้เส้นทางถนนในการสัญจร ถนนสายสำคัญ ได้แก่


- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4035 (สายอ่าวลึก-พระแสง) แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4197 (สายปลายพระยา-เขาต่อ)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 415 (สายเขาต่อ-พนม)
- ทางหลวงแผ่นดินสายกระบี่ – ขนอม
- ทางหลวงแผ่นดินสายเขาเขน – บ้านทะเลหอย
- ถนนลาดยางสายบกเก้าห้อง – เขาแก้ว
- ทางหลวงชนบทสายโคกแซะ – บางเหลียว
- ถนนลาดยางสายหมู่บ้านตัวอย่าง – หินดาน
- ถนนลาดยางสายหมู่บ้านตัวอย่าง – ทะเลหอย
- ถนนลาดยางสายบ้านคลองปัญญา
- ถนนลาดยางสายบ้านบางเหลียว
- ถนนลาดยางสายโคกเจียก
นอกจากถนนสายสำคัญดังกล่าว ยังมีถนนในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ เขตรับผิดชอบของนิคมสหกรณ์อ่าวลึก และเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งถนนที่ใช้ติดต่อระหว่างตำบล หมู่บ้านต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง รองลงมาเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก สำหรับในเขตเทศบาลตำบลปลายพระยา มีถนนลาดยาง จำนวน 5 สาย ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 27 สาย และถนนลูกรัง จำนวน 17 สาย
4.2 การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
- มีการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์
4.3 การไฟฟ้า
หน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง ในเขตอำเภอปลายพระยา มีไฟฟ้าใช้ไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือน อยู่ระหว่างดำเนินการขยายเขตไฟฟ้า เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ-ลำห้วย-คลอง 15 สาย
- บึง หนอง และอื่นๆ 20 แห่ง
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 43 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 292 แห่ง
- บ่อน้ำบาดาล 79 แห่ง
- อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง
- ถังเก็บน้ำ 18 ถัง
- ประปาหมู่บ้าน 13 แห่ง
- สระน้ำ 200 แห่ง

5. ข้อมูลอื่นๆ
5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
เนื่องจากอำเภอปลายพระยา มีสภาพเป็นที่ราบสูงและที่ราบเนินเขา ส่วนสภาพของผิวดินส่วนใหญ่ เป็นดินร่วนและดินสีแดง มีความอุดมสมบูรณ์มาก สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ดี เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ และผลไม้ต่างๆ ในที่ลุ่มสภาพเป็นดินเหนียวปนทราย สามารถปลูกข้าวได้ในบางพื้นที่ มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ คือ เขื่อนคลองหยา โครงการชลประทานขนาดเล็กตามพระราชดำริ มีป่าไม้เบญจพรรณอุดมสมบูรณ์ มีไม้ที่สำคัญหลายชนิด มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยา มีถ้ำ น้ำตก ทุ่งเลี้ยงสัตว์ และที่สาธารณประโยชน์

5.2 มวลชนจัดตั้ง
- ชมรมพลังแผ่นดิน จำนวน 1,644 คน คิดเป็นร้อยละ 20
- ชรบ.หมู่บ้านละ 20 คน รวม 680 คน
- กลุ่มแม่บ้านเกษตร 26 กลุ่ม แยกเป็น ตำบลปลายพระยา จำนวน 10 กลุ่ม
ตำบลคีรีวง จำนวน 6 กลุ่ม ตำบลเขาเขน จำนวน 6 กลุ่ม ตำบลเขาต่อ จำนวน 4 กลุ่ม
- กลุ่มแม่บ้านมหาดไทย จำนวนสมาชิก 133 คน
- ลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.) 11 รุ่น 858 คน
-ไทยอาสาป้องกันชาติ (ทส.ปช.) 2 รุ่น 80คน
- กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ (กนช.) 1 รุ่น 40 คน
- อาสาสมัครรักษาความสงบในหมู่บ้าน (สรบ.) 122 คน
6. ผลการจัดเก็บภาษีอากร
อำเภอปลายพระยา มีสภาพทางด้านกายภาพ และศักยภาพของประชาชน ที่มีความพร้อมที่จะรองรับการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ขึ้นอยู่กับสภาพการดำเนินงานของส่วนราชการ และองค์กรเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
ผลการจัดเก็บภาษีอากร
จัดเก็บได้ตั้งแต่ตุลาคม 2547 – กันยายน 2548 รวม 5,017,591.98 บาท ดังนี้
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3,409,529.52 บาท
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล 375,539.29 บาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 790,131.32 บาท
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ 223,160.84 บาท
- อากรแสตมป์ 121,709.00 บาท
- ค่าปรับภาษีอากร 94,000.00 บาท
- รายได้เบ็ดเตล็ด - บาท
- และจากรายได้ส่วนท้องถิ่น 3,522.01 บาท
รวมผลการจัดเก็บภาษีทั้งสิ้น 5,017,591.98 บาท

7. แนวทางการพัฒนาอำเภอปลายพระยา
อำเภอปลายพระยา เป็นพื้นที่เกษตรกรรมราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการปลูกสวนปาล์ม สวนยางพารา และยังมีปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ได้แก่
- การคมนาคม ต้องการให้อำเภอปลายพระยา มีถนนลาดยาง หรือถนนคอนกรีต ตัดผ่านหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาด
- การไฟฟ้า ต้องการให้ประชาชนอำเภอปลายพระยา มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
- การประปา ต้องการให้ประชาชนอำเภอปลายพระยา มีน้ำกินน้ำใช้ ที่สะอาดถูกสุขลักษณะ ตลอดทั้งปี โดยการขอขยายเขตประปาหมู่บ้าน และจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประชาชนอำเภอปลายพระยา จะต้องได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยการจัดตั้งชุดรักษาความสงบเรียบร้อยประจำหมู่บ้าน ทำหน้าที่ในการสอดส่องดูแลการรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน
- การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ การพัฒนาน้ำตกบางเท่าแม่ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อื่นๆ เพื่อให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายของนักท่องเที่ยว

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

>>> นโยบายของผู้บริหาร (นายอำเภอปลายพระยา)

พัฒนาอำเภอปลายพระยาให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกในระดับภาคใต้ ควบคู่กับพัฒนาด้านเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร ประชาชนยึดหมั่นในคุณธรรม และร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืนตลอดไป
กลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน (STRATEGICS)
1. การบริหารการพัฒนาอำเภอ ต้องเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม การรับฟังการคิดเห็นจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น พหุภาคี การพัฒนาทุกระดับนำไปสู่ดีมีสุขของประชาชนและสังคมคุณธรรม
2. การพัฒนาที่มุ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผล
1) โดยการบริหารและการปฏิบัติงาน “เชิงรุก” ยึดพื้นที่ปฏิบัติการ ลดขั้นตอน มุ่งเป้าหมายของงานที่เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญ
2) บูรณาการทำงานในพื้นที่อำเภอในทุกด้าน แปลงงานภารกิจนโยบาย และยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในพื้นที่ให้มีเอกภาพ
3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง คิด ทำเพื่อประโยชน์ให้เกิดแก่ประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก
4) ให้ความสำคัญในบทบาทของทุกภาคส่วน ผนึกกำลังเสริมสร้างความรักสามัคคี พัฒนาจิตใจ คุณธรรมจริยธรรม จิตสำนึก หวงแหน ภาคภูมิใจในถิ่นที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนงาน ริเริ่มสร้างสรรค์งานตามศักยภาพ ยุทธศาสตร์ แนวทาง ทิศทางการพัฒนาพื้นที่
“ภูมิสังคม”
5) การพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล ในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรประชาชน โดยเฉพาะผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานองค์กร ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำท้องถิ่นให้มีความพร้อมทั้งร่างกาย
และจิตใจ ความรู้ความสามารถ และมีจิตสำนึกที่ดีสู่สังคมคุณธรรม อยู่ดีมีสุข มีคุณธรรมจริยธรรม ในการดูแลนำพาชุมชน สังคมและบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าการพัฒนาที่ยังยืน
6) การป้องกันและปราบปรามการบุกรุกการทำลายทรัพยากรป่าไม้ โดยเพิ่มมาตรการป้องกันเข้มงวด การปฏิบัติงานด้านปราบปราม การดำเนินคดีผู้ทำผิด และการเสริมสร้างมาตรการฟื้นฟู ปลุกกระแสสร้างจิตสำนึก ลุกขึ้นต่อต้าน ระดมและสร้าง การมีส่วนร่วม จากชุมชนพื้นราบ ในการเฝ้าระวังอย่างเข้มแข็ง ยั่งยืน และฟื้นฟูสภาพป่าเขตอนุรักษ์ แหล่งต้นน้ำลำธารให้คงสภาพธรรมชาติ
7) ยึดหลัก “บวร” ในการพัฒนา มิติด้านสังคม มีโครงสร้างบ้าน วัด โรงเรียน ราชการ ที่เข้มแข็งเชื่อมโยงเกาะเกี่ยว เป็นโครงสร้างหลักของชุมชนสังคมที่เข้มแข็ง
8) ยึดหลักแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการบริหารงานทุกระดับและ ทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนให้น้อมนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต
3. การพัฒนาคุณภาพให้บริการประชาชนโดยการปรับรูปแบบ วิธีการที่ดีเน้นคุณภาพการบริการ ปรับทัศนคติและสร้างบรรยากาศ การบริการแบบญาติพี่น้องหรือคนในครอบครัวเดียวกัน มุ่งให้เกิดความประทับใจ ศรัทธา ยกย่อง ชมเชยและเกิดความสุขใจจากการให้และรับบริการ
1) การบริหารการจัดการ อำนวยความสะดวก ตอบสนองและเพิ่มคุณภาพในการให้บริการ
2) การให้บริการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ตามสภาพและความเหมาะสม อย่างต่อเนื่อง
3) ปรับปรุงอาคาร สถานที่ ภูมิทัศน์ ภายใน – ภายนอก ให้เอื้ออำนวยต่อการบริการเชิงคุณภาพ มุ่งให้ผู้รับบริการ สะดวกกาย – สบายใจ เป็นสำคัญ นอกเหนือจากการจัดระบบงานที่ดีแล้ว ยังมีการปรับปรุงห้องน้ำสะอาดได้มาตรฐานและทางลัดสำหรับ ผู้พิการและคนชรา
4. การบริหารงบประมาณตามยุทธ์ศาสตร์ต่าง ๆ และตามภารกิจหน้าที่ งบสนับสนุนการบูรณการ การทำงานในระดับอำเภอ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดย
1) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
2) การวิเคราะห์ผลดีและผลเสียอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินในวินิจฉัยสั่งการหรือมอบหมาย
3) ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิต
5. การติดตามและประเมินผล ในการขับเคลื่อนงานตามภารกิจ นโยบายยุทธศาสตร์ของรัฐบาลวาระแห่งชาติ และวาระของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกระบี่ ให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่ เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อประชาชน โดย
1) วางระบบการติดตามและประเมินผล กำกับดูแล ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและการ
บริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2) นำประยุกต์ในการบริหารและพัฒนางาน
3) รายงานผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องให้หน่วยเหนือทราบ


แนวทางในการปฏิบัติราชการในหน้าที่
1. ยึดหลักการ วิธีคิด วิธีทรงงานและพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
2. ยึดหลักปฏิบัติตามมาตรฐาน คุณธรรมจริยธรรมของกรมการปกครอง
3. ยึดหลักค่านิยมที่สำคัญในการปฏิบัติหน้าที่

วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกระบี่
วิสัยทัศน์จังหวัดกระบี่
“ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลเชิงอนุรักษ์และสุขภาพ แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
บนพื้นฐานของคุณภาพชีวิตและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ”
จังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง มีชายฝั่งทะเลยาว 160 กิโลเมตร มีเกาะน้อยใหญ่ 130 เกาะ เกาะสำคัญที่เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งท่องเที่ยวประกอบด้วย เกาะพี พี เกาะไหง เกาะศรีบอยา เกาะปู เกาะจำ เกาะปอดะ เกาะไผ่ เกาะปิเละ เกาะหัวขวาน เกาะแดง เกาะรอก เกาะลันตา นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกร้อน น้ำพุเค็ม สระมรกต
ธารโบกขรณี และยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดิน น้ำ และป่าไม้ มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดในประเทศ และมีพื้นที่ปลูกยางพารามากเป็นอันดับต้นๆของภาคใต้ ประกอบกับการถือครองที่ดินยังจำกัด เหมาะในการขยายเป็นฐานการผลิตพืชเศรษฐกิจ อาทิ ปาล์มน้ำมัน เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน รวมทั้งผลิตสินค้าจำเป็น
นอกจากนี้ สภาพทางสังคมประชาชน มีลักษณะอุปนิสัยรักสงบ มีน้ำใจไมตรีผูกมิตรกับผู้มาเยือนเป็นจุดแข็งของสังคมฝั่งอันดามัน สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ

ศักยภาพการพัฒนาของจังหวัดกระบี่
1. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล เชิงอนุรักษ์และสุขภาพ
2. เกษตรอุตสาหกรรม ปาล์มน้ำมัน ยางพารา
3. สภาพภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความสมบูรณ์สวยงาม
4. ผู้คนมีอัธยาศัยดี พร้อมต้อนรับผู้มาเยือน
5. เป็นแหล่งอาหารสำคัญของฝั่งทะเลอันดามัน
ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดกระบี่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล เชิงอนุรักษ์และสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 คุณภาพชีวิตและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

>>> ยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

เป้าประสงค์
- จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอปลายพระยาเพิ่มขึ้น
- รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์การพัฒนา
1. ปรับปรุงซ่อมแซมเส้นทางสัญจร และโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้เดินทางไปสู่แหล่งท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยยิ่งขึ้น ประกอบด้วย น้ำตกบางเท่าแม่ และถ้ำนาฬาคิริง เป็นต้น
2. ปรับปรุงพัฒนาบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ให้มีความสะดวก สบาย และสะอาดและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
3. สร้างความเชื่อมั่น ด้านความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งภัยธรรมชาติ และความสงบเรียบร้อย
4. อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรักษาความสะอาดและการกำจัดขยะ ในแหล่งท่องเที่ยว
5. อนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
6. พัฒนาสินค้า OTOP และสินค้าภายในท้องถิ่น เช่น การเพาะเห็ดฟาง เพื่อการท่องเที่ยว

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2
แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
เป้าประสงค์
- ส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการเป็นฐานการผลิตไบโอดีเซล เพื่อเป็น Oil Palm City
- เพิ่มประสิทธิภาพ และมูลค่าสินค้าภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม

กลยุทธ์การพัฒนา
1. คัดเลือกเกษตรกร/ผู้ยากจน ในพื้นที่ทุกตำบลอำเภอปลายพระยา เข้าร่วมโครงการจำนวน 1,000 ราย
2. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอบรมให้ความรู้แนะนำวิธีการปลูกและการบำรุงรักษา
3. เกษตรกรเตรียมสถานที่ปลูก/รับพันธุ์ปาล์มน้ำมัน / ปุ๋ย ดำเนินการเพราะปลูก
4. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรออกตรวจการดำเนินการ/ให้คำแนะนำ
5. สามารถเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันแก่เกษตรกร 12,524 ตัน/ปี
6. เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร/ผู้ยากจน 1,000 ราย มูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท/ปี

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3
การพัฒนาคุณภาพชีวิต

เป้าประสงค์
-อำนวยความเป็นธรรมและรักษาความสงบสุขของสังคม
กลยุทธ์การพัฒนา
1. จัดตั้งศูนย์อำนวยความ เป็นธรรม
2. ปัญหาที่ได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาความเป็นธรรมทุกขั้นตอนตามกระบวนการ (ปค.)
3. การดำเนินงานถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
4. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและฐานข้อมูล
5. ร้อยละของหมู่บ้านที่ กม. มีการประชุมเพื่อ พัฒนาศักยภาพการรักษาความสงบสุขใน พื้นที

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4
เมืองน่าอยู่
เป้าประสงค์
- ผังเมืองและโครงการถนนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม

กลยุทธ์การพัฒนา
1. จัดวางโครงการใหม่ให้กับตัวเมืองปลายพระยา และพื้นที่ล้อมรอบ โดยแผนฟื้นฟูตัวเมือง เพื่อจัดตั้งพื้นที่ขยายสำหรับการอยู่อาศัย การใช้พื้นที่ของชุมชน การสร้างความงดงามให้กับศูนย์กลางเมือง ขอบเขตของเมืองควรได้รับการกำหนดอย่างชัดเจน โดยจ้างบริษัทที่ปรึกษา หรือสถาบันการศึกษา หรือ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ศึกษาสำรวจออกแบบ โดยมีการประชุมท้องถิ่นในเรื่องของผังเมือง การวางแผนท่องเที่ยว และสัญลักษณ์เมือง (Landmark)
2. จัดทำผังเมืองเฉพาะเขตชุมชนหนาแน่น
3. ให้องค์กรปกครองท้องถิ่น เน้นเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบของชุมชนและพื้นที่โดยรอบ
4. ทำโครงการถนนสวย โดยเน้นการปลูกต้นไม้ 2 ข้างทางหรือเกาะกลางถนนให้สวยงามและ ร่มรื่น
5. ให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการอนุรักษ์ และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5
ประชาชนเป็นสุข
เป้าประสงค์
- ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กลยุทธ์การพัฒนา
1. แก้ปัญหาความยากจนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- การลดรายจ่าย
- เพิ่มรายได้
- การออม
- การดำรงชีวิต
- การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การเอื้ออาทร (การแบ่งปัน/การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน)
2. ทำให้ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการทางเศรษฐกิจและสังคม
3. บูรณาการแผนงาน/โครงการของทุกหน่วยงานเพื่อมุ่งไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ได้มาตรฐานของประชาชนปลายพระยา
4. สังคมแห่งการเอื้ออาทร จัดตั้งเครือข่าย

>>> วิสัยทัศน์อำเภอปลายพระยา

วิสัยทัศน์อำเภอปลายพระยา

“เมืองใหม่เกษตรอุตสาหกรรม สู่แหล่งพลังงานทดแทน ดินแดนประตูเชื่อมฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน สวรรค์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บนพื้นฐานคุณภาพชีวิตพอเพียง อยู่ดี มีสุข อย่างยั่งยืน”


คำขวัญอำเภอปลายพระยา

"ปลายพระยาแหล่งเพาะปลูกปาล์ม ธรรมชาติงามน่าชม อุดมด้วยพืชผล ผู้คนมีคุณธรรม"

>>> ศํกยภาพอำเภอปลายพระยา

ศักยภาพการพัฒนาของอำเภอปลายพระยา

1. มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลาย ทั้งป่าไม้ ภูเขา และน้ำตก
2. เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และผลไม้ต่างๆ
3. การคมนาคมสะดวกเป็นอำเภอที่สามารถเดินทางติดต่อกับอำเภออื่นๆ หรือจังหวัดอื่นๆ ได้รอบด้าน
4. ผู้คนมีอัธยาศัยดี พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมา และมีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว

การวิเคราะห์ เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์ (Swot Analysis)
1. จุดแข็ง (Strengths)
- ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้ ภูเขา ที่ราบและน้ำตก
- แหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง คือ ปาล์ม และยางพารา รวมทั้งไม้ผลต่างๆ
2. จุดอ่อน (Weakness)
- การบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา
- โครงการพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ไม่สามารถรองรับได้เพียงพอในปัจจุบัน
- การรวมกลุ่มเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนายังไม่แข็งแกร่งพอ
- การบูรณาการโครงการ/แผนงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการ เอกชน และท้องถิ่น ยังไม่ดีเท่าที่ควร
3. โอกาส (Opportunities)
- สามารถสร้างเอกลักษณ์ (Brandind) ของอำเภอได้ เนื่องจากมีทรัพยากรรองรับ เช่น แหล่งเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพารา เป็นต้น
- ใช้การวิจัยและพัฒนาในการสร้างมูลค่าเพิ่มในฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาล์มน้ำมันและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
4. ภาวะคุกคาม (Theasts)
- การทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ นำไปสู่การเสื่อมโทรมและมีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา
- การพัฒนาต้องการแบ่งโซนที่ชัดเจน เพื่อป้องกันมลภาวะทุกรูปแบบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ปฏิทินอำเภอ 2553


ShoutMix chat widget